
4 โรคร้ายที่ "มะรุม" สมุนไพรพื้นบ้านช่วยคุณได้ ![]() โรคร้ายที่ “มะรุม” สมุนไพรพื้นบ้านช่วยคุณได้ มะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยที่มีประโยชน์อเนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม มะรุมเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน เจริญได้ดีในดินทุกชนิด คนไทยเรานิยมนำฝักมะรุมอ่อนมาเป็นส่วนประกอบในแกงส้ม หรือนำมาผัดกับน้ำมันหอย ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอกอ่อน ชาวอีสานนิยมนำไปลวกให้สุกหรือต้มให้สุก รับประทานเป็นผักร่วมกับลาบ ก้อย หรือนำไปปรุงเป็นแกงอ่อม แค่นี้ก็น้ำลายสอแล้วใช่ไหมคะ แต่ช้าก่อนค่ะ...มะรุมยังมีประโยชน์ทางยาช่วยต้านโรคสำคัญๆ ได้อีกนะคะ มีอะไรบ้าง...ตามมาค่ะ
1. โรคเบาหวาน ผลการวิจัยจาก คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า มะรุมมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาล ช่วยรักษาผู้ป่วยเบาหวานให้อยู่ในระยะควบคุมได้ 2. โรคเก๊าท์ ไขข้ออักเสบ ใบมะรุมมีแคลเซียมสูงกว่านมสดถึง 3 เท่า มะรุมจึงมีสรรพคุณในการบำรุงกระดูก ลดโอกาสของการเกิดโรคกระดูกเสื่อม บรรเทาอาการปวดตามข้อ 3. โรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมะรุมมีวิตามินซีสูงมาก โดยใบมะรุมมีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 7 เท่า จึงช่วยป้องกันโรคหวัด และยังลดอาการเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย 4. โรคผิวหนัง น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุม สามารถทำมาทาผิวเพื่อรักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ปัญหาผิวแห้ง ทำให้ผิวชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อราได้ ปัจจุบัน มะรุมได้รับการแปรรูปเพื่อความสะดวกสำหรับการบริโภคที่ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งในรูปแบบแคปซูล และชาซอง อย่างไรก็ดี ถึงแม้มะรุมจะมีประโยชน์มากมาย แต่ผู้ใช้ควรคำนึงถึงข้อควรระวังด้วย ซึ่งได้แก่
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงดีๆจาก:
1. มะรุม. Wikipedia. 2557. แหล่งที่มา: th.wikipedia.org/wiki/มะรุม 2. มะรุม พืชที่ทุกคนอยากรู้. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2553. แหล่งที่มา: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/8/มะรุม-พืชที่ทุกคนอยากรู้/ 3. มะรุมลดไขมันป้องกันมะเร็ง.หมอชาวบ้าน. 2550.แหล่งที่มา:https://www.doctor.or.th/article/detail/1245
4. มะรุม สรรพคุณทางยาประโยชน์และผลข้างเคียงจากงานวิจัยม.มหิดล. แหล่งที่มา: http://siamherbs.blogspot.com/2014/09/moringa.html
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |